top of page
JFIN Team

ต้นกำเนิดของ Blockchain กับการปฏิวัติครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์




เมื่อปี 2008 Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า Bitcoin ขึ้นมา โดยออกแบบให้ Bitcoin เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใคร ๆ ก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงินและโอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ ซึ่งเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย


Blockchain รุ่นที่ 1 : กำเนิด Bitcoin


ถ้าพูดถึงวงการคริปโตเคอร์เรนซีหรือเหรียญสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าใครก็คงต้องนึกถึง Bitcoin เป็นอันดับแรก ๆ ซึ่งเป็นเหรียญคริปโตแรกของโลก Satoshi Nakamoto ได้พัฒนาเหรียญสกุลดิจิทัลขึ้นมาเพื่อเป็นสินทรัพย์ทางเลือกให้กับสถาบันการเงิน เนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา พร้อมประกาศว่า นี่คือเหรียญที่จะเป็นสกุลเงินที่โปร่งใสที่สุดในโลก เพราะดำเนินการบนเทคโนโลยี Blockchain เป็นมูลค่าเงินที่ทุกคนจะเข้าถึง และรับรู้การเกิดขึ้นของธุรกรรมได้พร้อมกันทั่วโลก


ถ้าไม่มี Bitcoin อาจจะไม่มีเทคโนโลยี Blockchain


เทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ถูกคิดขึ้นมาเพื่อทำให้สร้าง Bitcoin ได้สำเร็จ บล็อกเชน ถ้าเรานึกกลับกันว่า Satoshi Nakamoto ไม่ได้ต้องการสร้างสกุลเงินบิทคอยน์ ตอนนี้เราอาจไม่ได้เห็นเทคโนโลยี Blockchain จะเห็นได้ว่า บล็อกเชนกับบิทคอยน์ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันได้กับทุกอุตสาหกรรม


Blockchain รุ่นที่ 2 : กำเนิด Smart Contract


แนวคิดของ Smart Contract เกิดขึ้นเมื่อราวปี 1994 โดย Nick Szabo ได้นำเสนอแนวคิด Smart Contract ว่าเป็น Computerized Transaction Protocol ที่ใช้ดำเนินการตามเงื่อนไขของตัวสัญญาทางคอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์ไว้ใช้งานเหมือนกับการทำสัญญาทั่วไป เช่น การชำระเงิน การรักษาความลับ การบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ


ในโลกสินทรัพย์ดิจิทัล มีหลายบล็อกเชนที่สนับสนุนการทำงานของ Smart Contract และที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือ Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานของสัญญาอัจฉริยะโดยเฉพาะ

ไม่ต้องอาศัยคนกลาง หรือ คนมานั่งตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม ซึ่งมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากทำงานอยู่บนระบบ Blockchain


ปัจจุบัน Smart Contract Smart Contract ไม่ได้ทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนภายในเครือข่าย Bitcoin เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ร่วมได้กับอีกหลายวงการ ไม่ว่าจะการเงิน อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ทางกฎหมาย


Blockchain รุ่นที่ 3 : แก้ปัญหา Scalability


ปัญหา Scalability ถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการพัฒนาบล็อกเชน โดยปกติ Ethereum สามารถรองรับการทำธุรกรรมได้เพียง 15 ธุรกรรมต่อวินาทีเพียงเท่านั้น อีกทั้งการที่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่ๆ เข้าไปอยู่ตลอดเวลา ทำให้ Ethereum บล็อกเชนนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ปัจจุบัน Ethereum

มีปัญหา คือ การทำธุรกรรมจะต้องใช้เวลานาน และมีค่าแก๊สที่แพง ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนา เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เช่น Sharding, Lightning Network รวมไปถึงการเปลี่ยนระบบจาก Proof of Work ไปเป็น Proof of Stake


บล็อกเชนจึงถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพไม่น้อยเลยทีเดียว สามารถทำให้ Bitcoin ถูกยอมรับได้ในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงโปรเจกต์ Cryptocurrency ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนในการขับเคลื่อนธุรกิจ อย่างไรก็ตามการเข้ามาของเทคโนโลยีบล็อกเชนจึงเป็นการปฎิวัติครั้งใหญ่ของประวัติศาสต์เลยก็ว่าได้ กำเนิดจุดที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างมากมาย และเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้ยังคงมีการพัฒนาต่อไปอีกเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาทุกครั้งจะมีศักยภาพที่สูงขึ้น ซึ่งในอนาคตเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานที่มากขึ้นอย่างแน่นอน


Comments


bottom of page